Lucky Clover - Diagonal Resize 2 Lucky Clover - Diagonal Resize 2

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.

เรียนต่อจากเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
บทบาทของครู
• ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
• ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
• จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
• ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
• การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
• เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
• ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
• ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
• จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
• ครูจดบันทึก
• ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
• วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
• คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
• ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
• เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
• อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
• ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
• ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
• เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
• ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
• ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
• ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
• ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
• การให้โอกาสเด็ก
• เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆ เหมือนเพื่อนในห้อง
• ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา
• เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
• ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
• ถามหาสิ่งต่างๆไหม
• บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
• ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
• ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
• ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
• อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
• อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
• ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
• เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

 
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 
การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน






ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
• แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
• เรียงลำดับตามขั้นตอน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
• การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
• มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
• เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
• พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
• อยากสำรวจ อยากทดลอง




โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(
Individualized Education Program)
แผน IEP
• คัดแยกเด็กพิเศษ
• ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
• ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
• เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
• แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
ประกอบด้วย
• ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
• ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
• การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
• เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
• ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
• วิธีการประเมินผล
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
• รายงานทางการแพทย์
• รายงานการประเมินด้านต่างๆ
• บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
• ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
• กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
• กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
• จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายระยะยาว
• กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
– น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
– น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
– น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆ ได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
• ใคร 
• อะไร 
• เมื่อไหร่ / ที่ไหน 
• ดีขนาดไหน 
3. การใช้แผน

4. การประเมินผล ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**  


  • ได้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทครูที่จะปฏิบัติต่อเด็กมากขึ้น ทำให้สามารถรู้เทคนิคการสอน การรับมือกับพฤติกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการเขียนเพื่อจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อเด็ก คุณครู และผู้ปกครอง


ประเมินตนเอง  :  เมื่ออาจารย์อธิบาย ยกตัวอย่างเพิ่มเติม ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีความสุขในการเรียน ไม่เคร่งเครียด
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ ตรงต่อเวลา เมื่อมีปัญหาหรือมีอะไรก็จะแลกเปลี่ยนให้กันฟังตลอด ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำปรึกษาที่ดีแก่นักศึกษาเสมอมา








วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560 

* เข้าค่ายผู้กำกับลูกเสือ *


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2560

* หยุดเทศกาลวันสงกรานต์ *


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2560

* ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดราชการ *


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2560 

* ไม่มีการเรียนการสอน *


วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 : เวลา 08.30-12.30 น.


เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


          ก่อนเข้าสู่การเรียนเนื้อหา อาจารย์ได้แจกข้อสอบกลางภาคให้นักศึกษาดูว่า ตนเองได้คะแนนสอบเท่าไร แล้วเฉลยข้อสอบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อจะได้เข้าใจ และจำได้มากขึ้น
               กิจกรรมต่อมา คือ กิจกรรมมือของฉัน อาจารย์ให้วาดภาพลายมือของตนเอง ข้างที่ไม่ถนัด โดยไม่ให้ดูลายมือจริงในขณะวาด จากนั้นก็ให้เพื่อนทายว่า รูปลายมือนี้ เป็นของใคร หากสามารถทายถูก แสดงว่า คนวาดเก็บรายละเอียดได้ดี และวาดได้เสมือนจริง



ผลงานของหนูเองค่ะ ^______^

กิจกรรมนี้ อาจารย์ได้ให้ข้อคิด คำแนะนำว่า ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
หากเด็กแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา เราต้องจดบันทึกในทันที เพราะถ้าเวลาผ่านไป
เราจะสามารถลืมได้ และจะทำให้ได้รายละเอียดที่ไม่ครบถ้วน ขนาดลายมือที่อยู่กับเรามาทั้งชีวิต
เรายังไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมดเลย


เนื้อหา
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

•  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
•  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
•  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
•  เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
•  เกิดผลดีในระยะยาว 
•  เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
•  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
•  โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
•  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
•  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
•  การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
•  การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
•  ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
•  ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
•  การฝังเข็ม (Acupuncture)
•  การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)


•  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
•  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร 
(Picture Exchange Communication System; PECS)
•  เครื่องโอภา (Communication Devices)
•  โปรแกรมปราศรัย
ตัวอย่าง โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร





ใช้เพื่อสื่อความหมายว่า ต้องการอะไร ? โดยนำภาพมาติดใส่แผ่นกระดาษที่เตรียมไว้


ตัวอย่าง ขำ ๆ (อาจารย์ไปขุดมาจาก Facebook)
>___________<




  


 
  • ได้แนวคิดว่า หากเด็กแสดงพฤติกรรมอะไร จะต้องรีบจดบันทึกทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน และไม่เสี่ยงต่อการลืม
  • สามารถนำโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร หรือ PECS มาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษได้ แต่ต้องใช้ในระยะเวลาพอประมาณ ไม่ควรใช้ตลอดไป เพราะเด็กจะไม่เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้น



ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ และเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการทำงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ใจดี พูดจาสุภาพอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำแนะนำ ยกตัวอย่างในการเรียนให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น และอธิบายงานอื่น ๆ ที่นักศึกษาอยากทราบ ด้วยความเต็มใจ



วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.
สอบกลางภาค และเรียนต่อเรื่อง 
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
• การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
• การศึกษาพิเศษ (Special Education)
• การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
• การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (ประเทศไทย)
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
* โรงเรียนมีสิทธิ์เลือกเด็ก *
• การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
• มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
• ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
• ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) *โรงเรียนไม่มีสิทธิ์เลือกเด็ก*
• การศึกษาสำหรับทุกคน
รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล


ปรัชญาของการเรียนรวม (Wilson, 2007)
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม







  •      ครูไม่ควรวินิจฉัย
  •      ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  •      ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  •      สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  •      จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ



กิจกรรมวาดภาพดอกบัว
เพื่อให้ฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพ เช่นเดียวกับการเก็บรายละเอียด
จดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก


ชมวิดีโอความสามารถของน้องช่อแก้ว https://www.youtube.com/watch?v=xwwgg3OQB5Y


  • ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม และปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All) เราเป็นครูต้องให้ความรู้ ความรักเท่าเทียมกัน ให้โอกาสเด็ก และเข้าใจในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการการเรียนรู้มากที่สุด



ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียนและสนุกกับการเรียน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันในทุก ๆ เรื่อง
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์น่ารัก เป็นกันเอง เรียนด้วยแล้วไม่เครียดไม่เบื่อหน่าย และยังได้ความรู้ประสบการณ์มากมาย