Lucky Clover - Diagonal Resize 2 Lucky Clover - Diagonal Resize 2

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา 
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” (Gifted Child)

ยกตัวอย่าง เช่น

Kim Ung-Yong 
(แก้โจทย์ปัญหา เป็นเด็กที่มี IQ สูงที่สุดในโลก)

Akrit Jaswal 
(เป็นคนอินเดีย : เป็นหมอผ่าตัด โดยเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ)

Elaina Smith 
(เป็นนักจัดรายการวิทยุ ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต)

เด็กชายธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี
(ศิลปินสีน้ำ อายุ 5 ขวบ)

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 


1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities) 
          มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน (เด็กบกพร่องทางสติปัญญา)*

เด็กเรียนช้า
  - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  - ขาดทักษะในการเรียนรู้
  - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 

เด็กปัญญาอ่อน หรือบกพร่องทางสติปัญญา
  - ระดับสติปัญญาต่ำ
  - พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  - มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
  - อาการแสดงก่อนอายุ 18
เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  - ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
  - ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
   - ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
   - กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial MentalRetardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  - พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
  - สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  - เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
   - เรียนในระดับประถมศึกษาได้
   - สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
   - เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
•  ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
•  ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
•  ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
•  ทำงานช้า
•  รุนแรง ไม่มีเหตุผล
•  อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
•  ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

สาเหตุ
          •  ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
          •  ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
•  ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น
•  หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
•  ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
•  ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
•  เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
•  ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
•  มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
•  เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
•  ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
•  มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
•  บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
•  อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
•  มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
•  อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง


การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
•  การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
•  อัลตราซาวด์  
•  การตัดชิ้นเนื้อรก
•  การเจาะน้ำคร่ำ  
เสือขาว "เคนนี่" เป็นดาวน์ซินโดรม 
ปัจจุบันอยู่ในสวนสัตว์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) 

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน
เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 
เด็กหูตึง
          หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB 
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB 

เด็กหูหนวก
   - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
   - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
   - ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
   - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป


3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments) 
  - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
•  เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
•  มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
•  มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
•  ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
•  เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
•  ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
•  มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

nicolly pereira
(ตาบอดตั้งแต่เด็ก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยการผ่าตัด)

Piper
(สายตายาวตั้งแต่เด็ก)

ตัวอย่าง Snellen's chart


  • ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็ก การปฏิบัติตนต่อเด็ก และทราบถึงสิ่งที่ควรระมัดระวังพร้อมที่จะรับมือเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • สามารถนำการสอนแบบอาจารย์ไปปรับใช้กับตนเองได้ เพราะการสอนของอาจารย์นั้น มีความน่าสนใจ เช่น มีภาพ วิดีโอ การเล่าประสบการณ์ ยกตัวอย่าง ประกอบการเรียนเนื้อหาวิชาการ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรียนสนุก ไม่เครียด มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อน ๆ
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความช่วยเหลือ พูดคุยปรึกษาหารือกัน สร้างเสียงหัวเราะในการเรียน ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นกันเอง สนุกสนาน
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ใจดี แต่งกายสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการยกตัวอย่าง เล่าประสบการณ์ เปิดวิดีโอให้ดู เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และผ่อนคลายในการเรียนมากขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น