ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
4.
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(Children with Speech and Language Disorders)
(Children with Speech and Language Disorders)
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
• เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป
"ความ" เป็น "คาม"
• ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง
"กิน" "จิน" กวาด ฟาด
• เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย
"หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
• เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง
"แล้ว" เป็น "แล่ว"
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
• พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน
ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
• การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
• อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
• จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
• เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง
สละสลวย
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
• ความบกพร่องของระดับเสียง
• เสียงดังหรือค่อยเกินไป
• คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
(โตขึ้น สามารถหายได้)
1.
การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
(Delayed Language)
2.
ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia หรือ aphasia
Dysphasia หรือ aphasia
• อ่านไม่ออก (alexia)
• เขียนไม่ได้ (agraphia )
• สะกดคำไม่ได้
Gerstmann’s syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
คำนวณไม่ได้ (acalculia)
เขียนไม่ได้ (agraphia)
อ่านไม่ออก (alexia)
5.
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
(Children with Physical
and Health Impairments)
• เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
• อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
• เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
• มีปัญหาทางระบบประสาท
• มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy) ยังไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากระบบประสาท
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ (Partial Complex)
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) รุนแรงที่สุด และมีโอกาสเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
• จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
• ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
• หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
• ดูดน้ำลาย เสมหะ
เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
• จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
• ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
• ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
(ไม่มีผลต่อสติปัญญา)
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
• spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
• spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
• spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
• spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
• athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ
หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางราย
อาจมีคอเอียง
ปากเบี้ยวร่วมด้วย
• ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย
กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.
กลุ่มอาการแบบผสม
(Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular
Distrophy
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) เช่น เท้าปุก (Club
Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน
อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
นอกจากนั้น ยังมีโรคศีรษะโต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เลือดไหลไม่หยุด แขนขาด้วนแต่กำเนิด เป็นต้น
- สามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการเรียน ไปปรับใช้ในการเป็นครูปฐมวัย หรือใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันในการเข้าใจประเภทของเด็กพิเศษ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในการสอนหรือดูแลเด็ก
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และเข้าใจในบทเรียนที่อาจารย์สอน เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่าง หรือมีเพื่อนออกไปแสดงตัวอย่าง ก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น รู้สึกสนุกไปกับการเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือ เสียสละในการออกมาแสดงอาการของเด็กพิเศษ ซึ่งทำให้การเรียนมีสีสัน สนุกมากขึ้น ต้องขอชื่นชมเพื่อนทุกคนมากๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก เป็นกันเอง สอนและยกตัวอย่างได้เข้าใจ มีการสอนที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม ให้คำปรึกษาที่ดีต่อนักศึกษาเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น