Lucky Clover - Diagonal Resize 2 Lucky Clover - Diagonal Resize 2

วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 : เวลา 08.30-12.30 น.


เรียนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


          ก่อนเข้าสู่การเรียนเนื้อหา อาจารย์ได้แจกข้อสอบกลางภาคให้นักศึกษาดูว่า ตนเองได้คะแนนสอบเท่าไร แล้วเฉลยข้อสอบไปพร้อม ๆ กัน เพื่อจะได้เข้าใจ และจำได้มากขึ้น
               กิจกรรมต่อมา คือ กิจกรรมมือของฉัน อาจารย์ให้วาดภาพลายมือของตนเอง ข้างที่ไม่ถนัด โดยไม่ให้ดูลายมือจริงในขณะวาด จากนั้นก็ให้เพื่อนทายว่า รูปลายมือนี้ เป็นของใคร หากสามารถทายถูก แสดงว่า คนวาดเก็บรายละเอียดได้ดี และวาดได้เสมือนจริง



ผลงานของหนูเองค่ะ ^______^

กิจกรรมนี้ อาจารย์ได้ให้ข้อคิด คำแนะนำว่า ในการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
หากเด็กแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา เราต้องจดบันทึกในทันที เพราะถ้าเวลาผ่านไป
เราจะสามารถลืมได้ และจะทำให้ได้รายละเอียดที่ไม่ครบถ้วน ขนาดลายมือที่อยู่กับเรามาทั้งชีวิต
เรายังไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ทั้งหมดเลย


เนื้อหา
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

•  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
•  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
•  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
•  เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด 
•  เกิดผลดีในระยะยาว 
•  เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
•  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
•  โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
•  การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
•  การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
•  การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
3. การบำบัดทางเลือก
•  การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
•  ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
•  ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
•  การฝังเข็ม (Acupuncture)
•  การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
การสื่อความหมายทดแทน 
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)


•  การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
•  โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร 
(Picture Exchange Communication System; PECS)
•  เครื่องโอภา (Communication Devices)
•  โปรแกรมปราศรัย
ตัวอย่าง โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร





ใช้เพื่อสื่อความหมายว่า ต้องการอะไร ? โดยนำภาพมาติดใส่แผ่นกระดาษที่เตรียมไว้


ตัวอย่าง ขำ ๆ (อาจารย์ไปขุดมาจาก Facebook)
>___________<




  


 
  • ได้แนวคิดว่า หากเด็กแสดงพฤติกรรมอะไร จะต้องรีบจดบันทึกทันที เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ครบถ้วน และไม่เสี่ยงต่อการลืม
  • สามารถนำโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร หรือ PECS มาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษได้ แต่ต้องใช้ในระยะเวลาพอประมาณ ไม่ควรใช้ตลอดไป เพราะเด็กจะไม่เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้น



ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ และเรียนอย่างมีความสุข สนุกสนาน
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการทำงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์ใจดี พูดจาสุภาพอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้คำแนะนำ ยกตัวอย่างในการเรียนให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น และอธิบายงานอื่น ๆ ที่นักศึกษาอยากทราบ ด้วยความเต็มใจ



วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.
สอบกลางภาค และเรียนต่อเรื่อง 
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
• การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
• การศึกษาพิเศษ (Special Education)
• การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
• การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

 ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (ประเทศไทย)
(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
* โรงเรียนมีสิทธิ์เลือกเด็ก *
• การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
• มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
• ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
• ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) *โรงเรียนไม่มีสิทธิ์เลือกเด็ก*
• การศึกษาสำหรับทุกคน
รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา 
จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล


ปรัชญาของการเรียนรวม (Wilson, 2007)
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม







  •      ครูไม่ควรวินิจฉัย
  •      ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  •      ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  •      สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
  •      จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ



กิจกรรมวาดภาพดอกบัว
เพื่อให้ฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพ เช่นเดียวกับการเก็บรายละเอียด
จดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก


ชมวิดีโอความสามารถของน้องช่อแก้ว https://www.youtube.com/watch?v=xwwgg3OQB5Y


  • ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม และปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All) เราเป็นครูต้องให้ความรู้ ความรักเท่าเทียมกัน ให้โอกาสเด็ก และเข้าใจในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน จัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการการเรียนรู้มากที่สุด



ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียนและสนุกกับการเรียน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันในทุก ๆ เรื่อง
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์น่ารัก เป็นกันเอง เรียนด้วยแล้วไม่เครียดไม่เบื่อหน่าย และยังได้ความรู้ประสบการณ์มากมาย


วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.




8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

เกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่

• มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ 
ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)






ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
• จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
• ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
• งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
• มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
• พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
• มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
• หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
• เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
• ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก เป็นต้น


ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
• ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
• รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
• มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
• มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
• แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
• มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
 • เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
• เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น  (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ 

Inattentiveness สมาธิสั้น
•Hyperactivity ซนไม่อยู่นิ่ง
•Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
• สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป 
หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ 
แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 
• เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
• เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
• เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
• เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

ภาพและวิดีโอการทำกิจกรรมในห้องเรียน







  • เมื่อเข้าใจถึงพฤติกรรม ปัญหาของเด็กแต่ละคน ก็นำความรู้นี้ไปใช้ในการดูแลเขา เช่น เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ควรให้เด็กมีบทบาทเยอะ ๆ ให้เขาได้ช่วยเหลืองานครู ไม่ให้ว่างที่จะทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา
  • รู้จักยารักษาโรคสมาธิสั้นที่สามารถนำมาใช้กับเด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้ เพื่อลดความรุนแรงด้านพฤติกรรมลง



ประเมินตนเอง  :  เรียนเข้าใจ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน สนุกไปกับการเรียน ไม่เบื่อหน่าย
ประเมินเพื่อน  :  เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดแทรกการเรียนเนื้อหา 
ประเมินอาจารย์  :  อาจารย์สอน อธิบาย ยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงจากอาจารย์ หรือยกตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ