Lucky Clover - Diagonal Resize 2 Lucky Clover - Diagonal Resize 2

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(
Children with Speech and Language Disorders)

          1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
• เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
• ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาด
• เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
• เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
          2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
          3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
• ความบกพร่องของระดับเสียง
• เสียงดังหรือค่อยเกินไป
• คุณภาพของเสียงไม่ดี
ความบกพร่องทางภาษา
(โตขึ้น สามารถหายได้)
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)  
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า
Dysphasia
หรือ aphasia 
• อ่านไม่ออก (alexia) 
เขียนไม่ได้ (agraphia )
สะกดคำไม่ได้
Gerstmann’s syndrome
ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
คำนวณไม่ได้ (acalculia)
เขียนไม่ได้ (agraphia)
อ่านไม่ออก (alexia)
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ 
(Children with Physical and Health Impairments)
• เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
• เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
• มีปัญหาทางระบบประสาท
• มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
โรคลมชัก (Epilepsy)  ยังไม่ทราบสาเหตุ สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากระบบประสาท
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
3.อาการชักแบบ (Partial Complex)
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) รุนแรงที่สุด และมีโอกาสเสียชีวิตได้
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
• จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
• หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
• ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
• จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
• ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
• ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ

(ไม่มีผลต่อสติปัญญา)
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
• athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางราย
อาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
• ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
          นอกจากนั้น ยังมีโรคศีรษะโต โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เลือดไหลไม่หยุด แขนขาด้วนแต่กำเนิด เป็นต้น







  •         สามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการเรียน ไปปรับใช้ในการเป็นครูปฐมวัย หรือใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันในการเข้าใจประเภทของเด็กพิเศษ และสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ในการสอนหรือดูแลเด็ก



ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และเข้าใจในบทเรียนที่อาจารย์สอน เมื่ออาจารย์ยกตัวอย่าง หรือมีเพื่อนออกไปแสดงตัวอย่าง ก็ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น รู้สึกสนุกไปกับการเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือ เสียสละในการออกมาแสดงอาการของเด็กพิเศษ ซึ่งทำให้การเรียนมีสีสัน สนุกมากขึ้น ต้องขอชื่นชมเพื่อนทุกคนมากๆ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก เป็นกันเอง สอนและยกตัวอย่างได้เข้าใจ มีการสอนที่ให้นักศึกษามีส่วนร่วม ให้คำปรึกษาที่ดีต่อนักศึกษาเสมอ 




วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.




ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
          แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา 
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” (Gifted Child)

ยกตัวอย่าง เช่น

Kim Ung-Yong 
(แก้โจทย์ปัญหา เป็นเด็กที่มี IQ สูงที่สุดในโลก)

Akrit Jaswal 
(เป็นคนอินเดีย : เป็นหมอผ่าตัด โดยเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ)

Elaina Smith 
(เป็นนักจัดรายการวิทยุ ให้คำปรึกษาปัญหาชีวิต)

เด็กชายธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี
(ศิลปินสีน้ำ อายุ 5 ขวบ)

2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8. เด็กออทิสติก
9. เด็กพิการซ้อน 


1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities) 
          มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน (เด็กบกพร่องทางสติปัญญา)*

เด็กเรียนช้า
  - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  - ขาดทักษะในการเรียนรู้
  - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90 

เด็กปัญญาอ่อน หรือบกพร่องทางสติปัญญา
  - ระดับสติปัญญาต่ำ
  - พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  - มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
  - อาการแสดงก่อนอายุ 18
เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  - ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
  - ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
   - ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
   - กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial MentalRetardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
  - พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
  - สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  - เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded) 

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 
   - เรียนในระดับประถมศึกษาได้
   - สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
   - เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
•  ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
•  ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
•  ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
•  ทำงานช้า
•  รุนแรง ไม่มีเหตุผล
•  อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
•  ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

สาเหตุ
          •  ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
          •  ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21)
อาการ
•  ศีรษะเล็กและแบน  คอสั้น
•  หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
•  ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
•  ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
•  เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
•  ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
•  มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
•  เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ 
•  ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
•  มีความผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย
•  บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
•  อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
•  มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
•  อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง


การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
•  การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
•  อัลตราซาวด์  
•  การตัดชิ้นเนื้อรก
•  การเจาะน้ำคร่ำ  
เสือขาว "เคนนี่" เป็นดาวน์ซินโดรม 
ปัจจุบันอยู่ในสวนสัตว์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired ) 

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน
เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก 
เด็กหูตึง
          หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB 
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB 

เด็กหูหนวก
   - เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
   - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
   - ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
   - ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป


3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments) 
  - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
  - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
•  เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
•  มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
•  มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
•  ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
•  เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
•  ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
•  มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

nicolly pereira
(ตาบอดตั้งแต่เด็ก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยการผ่าตัด)

Piper
(สายตายาวตั้งแต่เด็ก)

ตัวอย่าง Snellen's chart


  • ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ให้เด็ก การปฏิบัติตนต่อเด็ก และทราบถึงสิ่งที่ควรระมัดระวังพร้อมที่จะรับมือเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
  • สามารถนำการสอนแบบอาจารย์ไปปรับใช้กับตนเองได้ เพราะการสอนของอาจารย์นั้น มีความน่าสนใจ เช่น มีภาพ วิดีโอ การเล่าประสบการณ์ ยกตัวอย่าง ประกอบการเรียนเนื้อหาวิชาการ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน เรียนสนุก ไม่เครียด มีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และเพื่อน ๆ
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความช่วยเหลือ พูดคุยปรึกษาหารือกัน สร้างเสียงหัวเราะในการเรียน ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นกันเอง สนุกสนาน
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ใจดี แต่งกายสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีการยกตัวอย่าง เล่าประสบการณ์ เปิดวิดีโอให้ดู เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ และผ่อนคลายในการเรียนมากขึ้น





วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2560 : เวลา 08.30 - 12.30 น.



          วันนี้ เรียนเป็นชั่วโมงแรก อาจารย์ได้ให้ใบปั๊มการเข้าเรียน และให้ตัวปั๊มรูปคิตตี้ว่ามาเรียนตรงเวลา และได้รางวัลเด็กดีคนละ 1 ดวง สำหรับทุกคนที่มาเรียนในวันนี้ จากนั้นก็แนะนำ แนวการสอนต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ ที่จะเรียนหรือทำกิจกรรมในเทอมนี้
  • บทเรียนที่ 1 คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
     (Children with special needs) เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม และสามารถต่อยอดความรู้ใหม่ต่อไป
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
 (Early Childhood with special needs)
  • ความหมาย
1. ทางการแพทย์  มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า “เด็กพิการ” หมายถึง 
          เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ

2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

  
  • พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

    เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
    •  เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
    •  พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
    •  พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

    ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
    •  ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
    •  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
    •  ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
    •  ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 

    สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
    1. พันธุกรรม
    ปากแหว่งเพดานโหว่ 
    (จะมีปัญหาเรื่องการพูด และเวลาเป็นหวัด มีน้ำมูก)

    นอกจากนั้น ยังมีเด็กสีผิวเผือก, ดาวน์ซินโดรม, neurofibromatosis : เท้าแสนปม

     2. โรคของระบบประสาท
    •  เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย 
    •  ที่พบบ่อยคือ อาการชัก
    3. การติดเชื้อ 
    •  การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต (สามารถรักษาได้) การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก (เสี่ยงต่อการเป็นหูหนวก ตาบอด)
    •  นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ 
    เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
    4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
    (เกี่ยวกับฮอร์โมน ระบบเผาผลาญ)
      โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ (รักษาได้ แต่ไม่หายขาด ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ)
    อาการ 
    -  รู้สึกหนาวได้ง่าย
    -  เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    -  ผิวหนังแห้งกว่าปกติ
    -  ผมแห้ง
    -  ซึม ขี้หลงขี้ลืม
    -  ท้องผูก
    5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
    •  การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
    6. สารเคมี
    •  ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
    •  มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
    •  ภาวะตับเป็นพิษ
    •  ระดับสติปัญญาต่ำ
    แอลกอฮอล์




    •  น้ำหนักแรกเกิดน้อย
    •  มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
    •  พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
    •  เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                                      (ไม่มีผลต่อสติปัญญา)

    นิโคติน

    •  น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
    •  เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
    •  สติปัญญาบกพร่อง
    •  สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
    7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร (ไม่ใช่สาเหตุหลัก)
    8. สาเหตุอื่นๆ (เช่น อุบัติเหตุ คลอดก่อนกำหนด)



    อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
    •  มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
    •  ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป (ปกติควรหายก่อน 1 ขวบ)


    แนวทางการวินิจฉัย
    เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
    1. การซักประวัติ
    2. การตรวจร่างกาย
    3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
    4.การประเมินพัฒนาการ
    การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
    •  แบบทดสอบ Denver II
    •  Gesell Drawing Test 
    •  แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล  






    • มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ในการเรียน และการสอน การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมได้อย่างถูกต้อง
    • ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และสามารถปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างถูกต้อง เช่น ต้องใจเย็น มีเมตตา ให้สิทธิเท่าเทียมกันกับเด็กคนอื่น ๆ เอาใจใส่เป็นพิเศษ เป็นต้น


    ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น สามารถทำแบบทดสอบได้อย่างถูกต้อง
    ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้คำปรึกษา เมื่อไม่เข้าใจ มีความกระตือรือร้นในการเรียน การทำกิจกรรม 
    ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยกตัวอย่างพฤติกรรม ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งการเล่าประสบการณ์ให้ฟัง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน บรรยากาศการเรียนมีความสุข สนุกสนาน

    ............................................................................