วันนี้ เรียนเป็นชั่วโมงแรก อาจารย์ได้ให้ใบปั๊มการเข้าเรียน และให้ตัวปั๊มรูปคิตตี้ว่ามาเรียนตรงเวลา และได้รางวัลเด็กดีคนละ 1 ดวง สำหรับทุกคนที่มาเรียนในวันนี้ จากนั้นก็แนะนำ แนวการสอนต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ ที่จะเรียนหรือทำกิจกรรมในเทอมนี้
- บทเรียนที่ 1 คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
(Children with special needs) เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม และสามารถต่อยอดความรู้ใหม่ต่อไป
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
(Early Childhood with special needs)
(Early Childhood with special needs)
- ความหมาย
เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง
สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย
การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา
หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
- พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
• เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
• พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
หลายด้าน หรือทุกด้าน
• พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการ
• ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
• ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
• ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
• ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.
พันธุกรรม
ปากแหว่งเพดานโหว่
(จะมีปัญหาเรื่องการพูด และเวลาเป็นหวัด มีน้ำมูก)
นอกจากนั้น ยังมีเด็กสีผิวเผือก, ดาวน์ซินโดรม, neurofibromatosis : เท้าแสนปม
2. โรคของระบบประสาท
• เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
• ที่พบบ่อยคือ อาการชัก
3. การติดเชื้อ
• การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต (สามารถรักษาได้) การได้ยินบกพร่อง
ต้อกระจก (เสี่ยงต่อการเป็นหูหนวก ตาบอด)
• นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด
เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
(เกี่ยวกับฮอร์โมน ระบบเผาผลาญ)
(เกี่ยวกับฮอร์โมน ระบบเผาผลาญ)
• โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย
คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ (รักษาได้ แต่ไม่หายขาด ต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ)
อาการ
- รู้สึกหนาวได้ง่าย
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- ผิวหนังแห้งกว่าปกติ
- ผมแห้ง
- ซึม ขี้หลงขี้ลืม
- ท้องผูก
อาการ
- รู้สึกหนาวได้ง่าย
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
- ผิวหนังแห้งกว่าปกติ
- ผมแห้ง
- ซึม ขี้หลงขี้ลืม
- ท้องผูก
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
• การเกิดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
• ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
• มีอากาศซึมเศร้า
เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
• ภาวะตับเป็นพิษ
• ระดับสติปัญญาต่ำ
• น้ำหนักแรกเกิดน้อย
• มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย
ศีรษะเล็ก
• พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
• เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(ไม่มีผลต่อสติปัญญา)
นิโคติน
• น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
• เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
• สติปัญญาบกพร่อง
• สมาธิสั้น
พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร (ไม่ใช่สาเหตุหลัก)
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
• มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า
1 ด้าน
• ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป (ปกติควรหายก่อน 1 ขวบ)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
• แบบทดสอบ Denver II
• Gesell Drawing
Test
- มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ในการเรียน และการสอน การจัดประสบการณ์แบบเรียนรวมได้อย่างถูกต้อง
- ทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และสามารถปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างถูกต้อง เช่น ต้องใจเย็น มีเมตตา ให้สิทธิเท่าเทียมกันกับเด็กคนอื่น ๆ เอาใจใส่เป็นพิเศษ เป็นต้น
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น สามารถทำแบบทดสอบได้อย่างถูกต้อง
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้คำปรึกษา เมื่อไม่เข้าใจ มีความกระตือรือร้นในการเรียน การทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ยกตัวอย่างพฤติกรรม ลักษณะของเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งการเล่าประสบการณ์ให้ฟัง เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน บรรยากาศการเรียนมีความสุข สนุกสนาน
............................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น