8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
เกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่
• มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
• แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
• มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
• เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
• เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
• ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct
Disorders)
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and
Concentration)
• จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น
(Short attention
span) อาจไม่เกิน
20 วินาที
• ถูกสิ่งต่างๆ
รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
• งัวเงีย
ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention
Deficit)
• มีลักษณะกระวนกระวาย
ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
• พูดคุยตลอดเวลา
มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
• มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
• หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
• เฉื่อยชา
และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
• ขาดความมั่นใจ ขี้อาย
ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก เป็นต้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
• ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
• รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
• มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
• มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
• แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย
• มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
• เด็กสมาธิสั้น (Children with
Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
• เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with
Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD
เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
•Inattentiveness สมาธิสั้น
•Hyperactivity ซนไม่อยู่นิ่ง
•Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
•Hyperactivity ซนไม่อยู่นิ่ง
•Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
• สมาธิสั้น
ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป
หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ
แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
9.
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple
Handicaps)
• เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง
เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
• เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
• เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
• เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
ภาพและวิดีโอการทำกิจกรรมในห้องเรียน
- เมื่อเข้าใจถึงพฤติกรรม ปัญหาของเด็กแต่ละคน ก็นำความรู้นี้ไปใช้ในการดูแลเขา เช่น เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ ควรให้เด็กมีบทบาทเยอะ ๆ ให้เขาได้ช่วยเหลืองานครู ไม่ให้ว่างที่จะทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา
- รู้จักยารักษาโรคสมาธิสั้นที่สามารถนำมาใช้กับเด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้ เพื่อลดความรุนแรงด้านพฤติกรรมลง
ประเมินตนเอง : เรียนเข้าใจ ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอน สนุกไปกับการเรียน ไม่เบื่อหน่าย
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่สอดแทรกการเรียนเนื้อหา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอน อธิบาย ยกตัวอย่างให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ตรงจากอาจารย์ หรือยกตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีความน่าสนใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น